พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว
เมื่อทานอาหารเที่ยงมื้อแรกเสร็จ
ขึ้นรถเรียบร้อย รอไกด์เคลียร์ค่าใช้จ่ายกับร้าน
พร้อมกับเด็กพม่าที่ยังคงมองมาที่รถพร้อมพึมพำอะไรเป็นระยะ
แต่เราเองก็รู้สึกเป็นสุขลึกๆ แล้วรถก็เคลื่อนต่อไป ชีวิตพวกเขาก็ดำเนินต่อไป
12.10
น.ไกด์บอกว่าต่อไปนี้จะเดินทางไกลอย่างน้อย
4 ชั่วโมงจะถึงปลายทางคือภูเขาไจ้เที่ยว
เพื่อนมัสการพระธาตุอินทร์แขวน ...แต่ระหว่างทางจะผ่านโบราณสถานที่สำคัญที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหงสา
(นอกจากพระธาตุมุเตา) คือ
พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว ที่คนไทยเรียกกันว่า
“พระนอนชเวตาเลียว “
พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว
(Shwethalyaung Buddha) เป็นพระนอนองศ์สีขาวสร้างโดยพระเจ้าเมงกะติปะ
กษัตริย์มอญ เมื่อ พ.ศ.1537
ปัจจุบันพระนอนองค์นี้มีอายุ
1018 ปี ยาว
55 เมตร
ซึ่งเป็นพระนอนไสยาสน์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2
(รองจากพระนอนตาหวาน ที่ยาว 70 เมตร)
มีพุทธลักษณะงดงาม
โดยจะวางพระบาทเหลื่อมพระบาท ต่างจากพระพุทธไสยาสน์ของไทยที่นิยมวางพระบาทเสมอกัน
และถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน
และได้มีการค้นพบเมื่อราว 100 ปีก่อน ครั้งที่อังกฤษเดินทางมาสำรวจเส้นทางรถไฟในพม่า
จากนั้นจึงได้บูรณะ มีพุทธลักษณะแตกต่างจากของไทยโดยเฉพาะที่พระบาท
ที่จะไม่ตั้งชิดกัน แต่จะเกยกันเหมือนลักษณะของคนจริง ๆ ด้านหลังพระพุทธไสยาสน์
จะมีรูปภาพเล่าเรื่องราวประวัติการสร้างไว้
บน นร.พม่า ผ้าถุงเขียว เสื้อขาว มากราบพระ ด้วยกิริยาที่สงบ และตั้งใจมาก
ล่าง รูปวาดประวัติการสร้างตามตำนาน
ด้านหน้าข้างล่างของพระนอนนั้นเป็นจุดซื้อขายสินค้าพม่า
โดยสินค้าที่เด่นๆก็เห็นจะเป็น
งานไม้และงานฝีมือของพ่อค้าแม่ค้าชาวพม่าที่มีวางขายอยู่ทั่วไป เดี๋ยวนี้พม่าขายของเก่ง
ต้องต่อราคาราว 30-40% ของที่บอก เราซื้อกังสดาล 1 ชิ้น 1500
บาท
แพงหรือไม่ก็ไม่รู้เพราะซื้อมาถวายพระอาจารย์เอาไว้ตี บอกสัญญาณตอนประชุมพระ
ล้อหมุนอีกครั้งตอน
13.00 น.ซึ่งหลังจากนี้เราเริ่มจับสังเกตวิธีปฏิบัติของไกด์อ้อยได้อย่างหนึ่งคือ
เธอจะนั่งหน้าสุดหลังคนขับ แล้วจะบอกเหมือนบ่นดังๆว่าสถานที่ที่กำลังจะผ่าน
หรือผ่านพอดีคืออะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดว่าไม่ดี เพราะถ่ายรูปไม่ทัน
บางครั้งมองแล้วยังงง
ๆ เพราะเธอไม่ได้บอกว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวา ต้องหันสองทาง
แล้วบางครั้งรถก็ผ่านไปแล้ว ติดลบเธอเป็น
(-3)
ระหว่างเส้นทางนี้ส่วนใหญ่ผู้ร่วมทางจะหลับตลอด
ไกด์หลับจนเราต้องถามว่านี่แม่น้ำสะโตงใช่ไหม เธอตื่นแล้วบอกว่า “ใช่”แล้วเธอก็พูดสิ่งที่อยากพูด
สักครู่ก็หลับต่อ ส่วนเราและ
link เพลิดเพลินกับทิวทัศน์แบบชนบทที่ยังเป็นธรรมชาติ
ที่สังเกตระหว่างทางนี้เป็นนาถั่ว นาข้าว ทุ่งโล่ง แทบไม่มีป่าแบบบ้านเรา (พม่ามีเนื้อที่เป็นป่าเขาราวร้อยละ
45-50 เป็นทุ่งหญ้าร้อยละ 25 และพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 15 ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร)
เส้นทางตลอดมีแตงโมวางขายข้างถนนเยอะมาก
ลูกโตๆ เขาว่าแตงโมที่นี่มีทั้งปี ส่งไปประเทศจีน อีกสิ่งที่เห็นก็คือไม้ไผ่
มีการขนส่งไม้ไผ่ ที่พม่ามีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่เยอะมาก ฝาบ้าน รั้วบ้าน ไม้เท้ายัน ของเล่นต่างๆ กระทั่งปืนเด็กเล่นก็ทำจากไม้ไผ่
(มีรูปให้ดู)
นอกจากนี้ยังเห็นเจดีย์สีทองเป็นระยะๆ
กระทั่งกลางทุ่งก็มี ใหญ่บ้างเล็กบ้าง อันนี้ไม่รู้ว่าบรรจุอะไรหรือไม่ แต่ทุกเจดีย์จะสีทอง
และไม่ทรุดโทรมเหมือนมีการดูแล